วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556
วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
ลูกชุบ
ลูกชุบ
ลูกชุบ เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งทำด้วยถั่วเขียวบดกวนปั้นเป็นรูปร่างต่างๆระบายสี แล้วนำไปชุบวุ้นให้สวยงาม สีที่ใช้ทำลูกชุบนั้นนอกจากระบายลงบนถั่วเขียวกวนที่ปั้นแล้ว ยังใส่สีลงในถั่วกวนโดยตรงได้อีก เช่น
- สีเหลือง สำหรับขนมที่จะปั้นเป็นผลมะปรางใช้ฟักทองนึ่งแล้วยีละเอียดผสมในถั่วกวน
- สีแสด เช่นผลมะเขือเทศสีดา ใช้มะละกอสุกยีละเอียดผสมในถั่วกวน
- สีชมพู เช่น ชมพู่แก้มแหม่ม ใช้หัวบีทรูทต้มยีละเอียดกรองแต่น้ำผสมในถั่วกวน
- สีแดง เช่นผลเชอรี่ ใช้หัวบีทรูทเช่นกัน แต่ใส่ให้มากขึ้น
- สีเขียว เช่น พุทรา มะยม ชมพู่เขียว ใช้ใบเตยหั่นละเอียดกรองเอาแต่น้ำ
- สีน้ำตาล เช่น ผลลำไย ละมุด ใช้ผงโกโก้ร่อน ผสมในถั่วกวน
ส่วนผสม
* ถั่วเขียว 450 กรัม
* น้ำตาลทราย 200 กรัม (สำหรับผสมถั่ว)
* น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ (สำหรับทำน้ำวุ้น)
* น้ำกะทิ 400 กรัม
* วุ้นผง 3 ช้อนโต๊ะ
* น้ำเปล่า 3 ถ้วยตวง (สำหรับทำน้ำวุ้น)
* สีผสมอาหาร
(อย่างน้อยแม่สี 3 สี : สีแดง, สีเหลืองและน้ำเงิน),
จานสีและพู่กัน
* ไม้จิ้มฟัน
(สำหรับเสียบถั่วที่ปั้นแล้วเพื่อแต่งสีและจิ้มลงในน้ำวุ้น)
* โฟม
(สำหรับเสียบถั่วปั้นระหว่างทำ ถ้าวางบนพื้นจะเสียทรง)
วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน
1. นำถั่วเขียวเลาะเปลือกมาทำความสะอาด และแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง จากนั้นจึงนำไปนึ่งให้สุก ใช้เวลาประมาณ 15 นาที)
2. เมื่อถั่วเขียวสุกดีแล้ว ให้นำไปใส่ในเครื่องปั่นไฟฟ้า พร้อมกับน้ำตาลทรายและน้ำกะทิ ปั่นจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี
3. จากนั้นจึงเทส่วนผสมลงในกระทะทองเหลือง (หรือกระทะเคลือบเทฟลอนก็ได้)และตั้งบนไฟอ่อนๆ ค่อยๆกวนจนข้นและเหนียว (ใช้เวลาประมาณ 20 - 30 นาที) จึงปิดไฟ และทิ้งไว้ให้เย็น (ถั่วต้องแห้ง มิเช่นนั้นจะไม่สามารถนำไปปั้นได้)
4. ก่อนปั้นให้นวดส่วนผสมทั้งหมดอีกครั้งจนเข้ากันเป็นเนื้อเดียว จากนั้นจึงปั้นให้เป็นรูปทรงตามใจชอบ (ผัก, ผลไม้หรือสัตว์น่ารักๆ) เมื่อปั้นเสร็จให้เสียบไม้จิ้มฟันรอไว้ ควรปั้นส่วนผสมทั้งหมดให้เสร็จเรียบร้อยก่อน ถั่วที่ปั้นเสร็จแล้วควรห่อไว้ด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำหมาดๆ
5. ผสมสีผสมอาหารตามต้องการ แล้วจึงบรรจงแต่งสีลงบนถั่วปั้นให้เหมือนจริง หรือตามแต่ความชอบ
6. ทำน้ำวุ้นโดยผสมน้ำเปล่า, ผงวุ้นและน้ำตาล ลงในหม้อ นำไปตั้งบนไฟร้อนปานกลาง หมั่นคนอย่างสม่ำเสมอ รอจนส่วนผสมเดือด ช้อนฟองที่ลอยหน้าออก จึงหรี่ไฟลง
7. นำถั่วปั้นที่แต่งสีแล้วไปชุบในน้ำวุ้น ควรชุบประมาณ 2 - 3 ครั้ง ระหว่างชุบวุ้นต้องอุ่นน้ำวุ้นด้วยไฟอ่อนเพื่อไม่ให้วุ้นแข็ง ถ้าไม่พอก็ผสมน้ำวุ้นขึ้นใหม่ตามอัตราส่วนข้างต้น
8. นำลูกชุบออกจากไม้ิจิ้มฟัน ตัดแต่งเศษวุ้นส่วนเกินออกด้วยกรรไกร จัดใส่จาน เสริฟเป็นของว่างในวันสบายๆได้
ทับทิมกรอบ
ทับทิมกรอบ
ขนมทับทิมกรอบ ทับทิมกรอบเป็นขนมหวานที่รับประทานได้ทุกฤดูกาล นิยมมากที่สุดในฤดูร้อน รับประทานแล้วหอมหวานเย็นอร่อยชื่นใจคลายร้อนได้ดี ประกอบด้วยเม็ดทับทิมกรอบสีแดงสดใสและเม็ดทับทิมกรอบสีชมพูสวย เมื่อเคี้ยวแล้วกรอบมันด้วยรสชาดของแห้ว มีน้ำเชื่อมที่ทำจากน้ำตาลทราย ลอยด้วยดอกมะลิ มีกะทิสดจากการคั้นมะพร้าว น้ำแข็งบดละเอียดหรือน้ำแข็งทุบให้เป็นเม็ดเล็กๆ หอมชื่นใจ
ส่วนผสม
* แห้ว 800 กรัม
(ล้าง, ปอกเปลือกและหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า)
* กะทิ 2 1/2 ถ้วยตวง
* เกลือป่น 2 ช้อนชา
* น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง
* น้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง
* น้ำหวานแดง 1 1/2 ถ้วยตวง
* แป้งมัน 500 กรัม
* ขนุนฉีกเป็นฝอย, เมล็ดข้าวโพดสุก
(สำหรับโรยหน้า จะมีหรือไม่มีก็ได้)
วิธีทำทีละขั้นตอน
1. นำแห้วที่หั่นเสร็จแล้วไปแช่ในน้ำแดงประมาณ 15 นาที จากนั้นจึงนำออกมาสะเด็ดน้ำ
2. นำแห้วที่แช่ในน้ำแดงไปคลุกในแป้งมันให้ติดผิว ค่อยๆคลุกให้ติดทั่วผิวแห้วทั้งหมด จากนั้น จึงนำไปต้มในน้ำเดือดจนสุกจึงนำออกมาแช่น้ำเย็น (วิธีสังเกตุ : แห้วสุกแล้วจะลอยขึ้นเหนือน้ำ)
3. เตรียมทำน้ำเชื่อม โดยผสมน้ำตาลกับน้ำและนำไปต้มจนเดือด คนจนส่วนผสมทั้งหมดละลายดี แล้วจึงปิดไฟ
4. นำกะทิและเกลือไปใส่ในหม้อขนาดเล็ก และนำไปตั้งบนไฟอ่อนจนส่วนผสมละลายเข้ากันดี จึงปิดไฟ
5. นำเมล็ดทับทิม ไปใส่ในถ้วยเสริฟ โรยหน้าด้วยเกล็ดน้ำแข็ง ราดด้วยน้ำเชื่อม,น้ำกะทิ, ขนุนฝอยและข้าวโพด (ถ้าต้องการ) เสริฟทันทีเป็นอาหารว่าง คลายร้อนในวันสบายๆ
สังขยาฟักทอง
สังขยาฟักทอง
ส่วนผสม
* ฟักทอง 1 ลูก (น้ำหนักประมาณ 400 - 600 กรัม)
* ไข่่ 4 ฟอง
* หัวกะทิ 3/4 ถ้วยตวง
* น้ำตาลปิ๊บ 1/4 ถ้วยตวง
* แป้งข้าวเจ้า 2 ช้อนโต๊ะ
* เกลือป่น 1/4 ช้่อนชา
* น้ำปูนใส
1. นำฟักทองมาตัดออกเป็นสี่เหลี่ยมบริเวณหัวขั้วจากนั้นจึงขวักเมล็ดข้างในออก จนกลวงเป็นช่องภายใน จากนั้นจึงนำไปน้ำปูนใสประมาณ 8 - 10 นาที แล้วจึงนำออกมาสะเด็ดน้ำ (เคล็ดลับ : แช่น้ำปูนใสเพื่อไม่ให้ฟักทองแตกเวลานึ่ง)
2. ระหว่างรอฟักทองที่แช่ในน้ำปูนใส เตรียมทำสังขยาโดยผสมไข่ไก่, หัวกะทิ , แป้งข้าวเจ้า, น้ำตาลปิ๊บ และเกลือ คนจนส่วนผสมเข้ากันดี
3. นำส่วนผสมสังขยาที่ทำในขั้นตอนที่สองเทลงในฟักทอง จากนั้นจึงนำไปนึ่งประมาณ 20 - 25 นาที กรณีเสริฟเป็นลูกฟักทอง ก็นำฝาที่ตัดออกไปนึ่งด้วย ถ้าแบ่งเสริฟก็หั่นเป็นชิ้นๆ เพื่อความสวยงามและน่ารับประทาน เวลาหั่นควรระวังไม่ให้สังขยาเละ
ขนมชั้น
ขนมชั้น
ขนมชั้น เป็นขนมไทยโบราณที่ใช้ในงานพิธีมงคล โดยมีความเชื่อว่าจะต้องหยอดขนมให้ได้ 9 ชั้น จึงจะเป็นศิริมงคลเจริญก้าวหน้าแก่เจ้าภาพ
ส่วนผสมของขนมส่วนใหญ่จะเป็นกะทิ และน้ำตาล แป้ง 3 - 4 ชนิด แล้วแต่สูตรและความชอบเนื้อขนมในแต่ละแบบ ซึ่งแป้งแต่ละอย่างก็จะมีคุณสมบัติทำให้ขนมมีเนื้อต่างกัน โดย
- แป้งมัน จะทำให้เนื้อขนมเนียน นุ่ม เหนียว หนืด ดูใสเป็นมัน
- แป้งท้าว จะทำให้เนื้อขนมเนียน เหนียว แข็ง แต่จะใสน้อยกว่าแป้งมัน
- แป้งข้าวเจ้า จะทำให้เนื้อขนมแข็ง และอยู่ตัว
- แป้งถั่วเขียว จะทำให้ขนมอยู่ตัว ไม่เหนียวมากเกินไป
ส่วนผสม
* แป้งข้าวเจ้า 2 ถ้วยตวง
* แป้งท้าวยายม่อม 2 ถ้วยตวง
* น้ำตาลทราย 5 ถ้วยตวง
* น้ำลอยดอกมะลิ 2 ถ้วยตวง
* กะทิ 6 ถ้วยตวง
* น้ำดอกอัญชัญ 2 ช้อนโต๊ะ (หรือน้ำใบเตยคั้นสด,
หรือใช้สีผสมอาหารตามแต่สีที่ต้องการ)
1. นำดอกอัญชันล้างน้ำให้สะอาด นำไปปั่นใส่น้ำแล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง เพื่อเตรียมน้ำดอกอัญชัญ กรณีต้องการทำสีเขียวจากใบเตย ก็นำเอาใบเตยไปล้างให้สะอาดและนำไปปั่นใส่น้ำและกรองด้วยผ้าขาวบาง กรณีต้องการสีอื่น อาจใช้สีผสมอาหารแทน
2. นำน้ำลอยดอกมะลิไปตั้งบนไฟอ่อนๆ ผสมน้ำตาลทรายลงไป คนจนละลายดีเสร็จแล้วทิ้งไว้ให้เย็น
3. นำแป้งทั้งสองชนิด ผสมกับกะทิ นวดให้เหนียว จากนั้นใส่น้ำลอยดอกมะลิที่ผสมน้ำตาลแล้ว (ขั้นตอนที่ 2) ลงไปผสมให้เข้ากัน
4. แบ่งแป้งที่ผสมแล้วออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกแบ่งไว้ทำสีขาว และส่วนที่สอง ไว้ทำสีม่วงโดยเติมน้ำดอกอัญชัน (น้ำใบเตยหรือสีผสมอาหาร)ลงไปคนให้เข้ากัน
5. นำถาดที่ต้องการ (หรือแบบพิมพ์ที่เตรียมไว้) ใส่บนลังถึงตั้งบนไฟแรง ๆ พอน้ำเดือดเปิดฝา ตักแป้งสีขาวเทใส่ลงในถาดเกลี่ยให้ทั่วถาดบางที่สุด ปิดฝาเพื่อให้สุกประมาณ 5 นาที เปิดดูแป้งจะมีลักษณะใส จากนั้นตักแป้งสีม่วง (หรือสีที่ผสมลงไป) ใส่ลงไป อีก ทำสลับกันจนแป้งหมด (เคล็ดลับ : ควรใช้ภาชนะที่มีความจุเท่ากันในการตวงแป้งเทแต่ละชั้น เพื่อที่จะได้แป้งที่มีความหนาเท่า ๆ กัน)
6. นึ่งจนขนมสุกทั้งหมด แล้วยกลงทิ้งไว้ให้เย็นประมาณ 2 ชั่วโมงจึงตัดเป็นชิ้นเพื่อเสริฟ (เคล็ดลับ : ก่อนที่จะเทแป้งเพื่อทำชั้นต่อไปทุกครั้ง จะต้องแน่ใจว่าขนมในชั้นล่างนั้นสุกแล้วจริง ๆ ไม่เช่นนั้น แป้งชั้นนั้นจะไม่สุกเลย ถึงแม้จะใช้เวลานึ่งนานเท่าใดก็ตาม)
|
บัวลอย
บัวลอย
+ส่วนผสมบัวลอย+
* แป้งข้าวเหนียว 2 ถ้วยตวง
* เผือกนึ่งสุกบดละเอียด 1 ถ้วยตวง (กรณีต้องการบัวลอยหลายสีสามารถเลือกใช้ฟักทอง เพื่อทำบัวลอยสีเหลือง, ใบเตย เพื่อทำบัวลอยสีเขียว, อื่นๆ)
* น้ำเปล่า 1/4 ถ้วยตวง
+ส่วนผสมน้ำกะทิ+
* กะทิ 2 ถ้วยตวง
* น้ำตาลมะพร้าว 100 กรัม
* น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
* เกลือป่น 1 ช้อนชา
* เนื้อมะพร้าวอ่อน, ไข่ (จะมีหรือไม่มีก็ได้)
* งาขาว (สำหรับแต่งหน้า จะมีหรือไม่มีก็ได้)
1. ทำบัวลอยโดยผสมแป้งข้าวเหนียว, เผือกนึ่งและน้ำเปล่าเข้าด้วยกัน นวดจนส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันเป็นเนื้อเดียว จากนั้นจึงนำมาปั้นเป็นลูกกลมๆ ระหว่างปั้นนั้น ควรโรยด้วยเศษแป้งข้าวเหนียวเล็กน้อยเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกบัวลอยติดกัน (ถ้าต้องการทำบัวลอยหลายสีก็ใช้ส่วนผสมเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นฟักทองสำหรับสีเหลือง หรือใบเตยสำหรับสีเขียว เป็นต้น)
2. ต้มน้ำในหม้อขนาดกลาง รอจนเดือดจึงใส่ลูกบัวลอยที่ปั้นไว้แล้ว เมื่อบัวลอยสุกให้นำออกมาแช่ในน้ำเย็น (บัวลอยที่สุกแล้วจะลอยขึ้น)
3. ทำน้ำกะทิโดยผสม กะทิ, น้ำตาลมะพร้าว, น้ำตาลทรายและเกลือป่นลงไป ควรใส่น้ำตาลทรายแค่ครึ่งเดียวก่อน ถ้ายังหวานไม่พอจึงค่อยใส่เพิ่มลงไป ต้มจนเดือด จึงหรี่ไฟลง นำบัวลอยที่ต้มไว้แล้วใส่ลงไปในน้ำกะทิ ต้มต่ออีกสักพักจึงปิดไฟ ถ้ามีมะพร้าวอ่อนก็ใส่ได้เลย พร้อมลูกบัวลอย (กรณีต้องการทำบัวลอยไข่หวาน ก็ตอกไข่ใส่ไปในหม้อหลังจากที่ใส่บัวลอยลงไป รอจนไข่สุกจึงปิดไฟ)
4. ตักใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยงาขาว เสริฟขณะร้อนหรือรอให้เย็นก็ได้
|
ขนมเทียน
ขนมเทียน
ขนมเทียน หรือ ขนมนมสาว ทางภาคเหนือเรียกว่า ขนมจ็อก ซึ่งเป็นขนมที่นิยมใช้ในงานบุญของชาวเชียงใหม่โดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ แต่เดิมมีไส้มะพร้าวและไส้ถั่วเขียว แต่ในปัจจุบันมีการดัดแปลงไส้ขนมจ็อกออกไปหลากหลายมากชาวจีนใช้ขนมเทียนในการไหว้บรรพบุรุษช่วงวันตรุษและวันสารท ไส้เป็นถั่วเขียวกวนบด ถ้าแบบเค็มจะใส่พริกไทยและเกลือ แบบหวานใส่มะพร้าวและน้ำตาลลงไปเพิ่ม ถ้าตัวแป้งทำด้วยแป้งถั่วเรียกขนมเทียนแก้ว
| ||||||||||||||
วิธีทำ
1.เคี้ยวไส้ขนม โดยใส่น้ำตาลปี๊บในกระทะทองเหลืองเคี้ยว
บอแตกฟอง ใส่มะพร้าวขูดลงเคี้ยว
พอเหนียว ยกลง พอเย็นอบเทียนให้หอม
2. ผสมแป้งข้าวเหนียวและแป้งท้าวให้เข้ากัน แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ผสมงาขาว ส่วนที่ 2
ผสมเนื้อฟักทอง แล้วนวดแป้งให้ได้ที่ด้วยน้ำเชื่อมอุ่นจัด และน้ำเย็น
3. นำแป้งมาปั้นเป็นก้อนกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 นิ้ว แล้วนำไส้ใส่ตรงกลางหุ้มให้มิด ห่อด้วยใบตอง
ที่มา : http://th.wikipedia
|
ขนมตาล
ขนมตาล
ขนมตาล เป็นขนมไทยดั้งเดิม เนื้อขนมมีลักษณะเป็นแป้งสีเหลืองเข้ม นุ่ม ฟู มีกลิ่นตาลหอมหวาน ขนมตาลทำจากเนื้อตาลจากผลตาลที่สุกงอม แป้งข้าวเจ้า กะทิ และน้ำตาล ผสมกันตามกรรมวิธี ใส่กระทงใบตองโรยมะพร้าวขูด และนำไปนึ่งจนสุก เนื้อลูกตาลยีที่เป็นส่วนผสมในการทำขนมตาล ได้จากการนำผลตาลที่สุกจนเหลืองดำ เนื้อข้างในมีสีเหลือง มีกลิ่นแรง ซึ่งส่วนมากจะหล่นจากต้นเอง มาปอกเปลือกออก นำมายีกับน้ำสะอาดให้หมดสีเหลือง นำน้ำที่ยีแล้วใส่ถุงผ้า ผูกไว้ให้น้ำตกเหลือแต่เนื้อลูกตาล
ส่วนผสม
เนื้อลูกตาลยีแล้ว 1/2 ถ้วยตวง
แป้งข้าวเจ้า 2 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
กะทิ 2 ถ้วยตวง
มะพร้าวทึนทึก 1 ซีก
วิธีทำ
1.ผสมแป้งและเนื้อลูกตาล แล้วนวด เติมกะทิทีละน้อยจนหมด
2.ใส่น้ำตาลทราย คนให้ละลายเข้ากันดี
3.นำไปตากแดดสัก 3-4 ชม. ให้แป้งข้น
4.ขูดมะพร้าวให้เป็นเส้นยาว
5.เมื่อแป้งขึ้น เนื้อขนมจะนูนขึ้น ตักขนมหยอดใส่ถ้วยตะไล หรือกระทงก็ได้ แล้วโรยมะพร้าว นึ่งไฟแรงประมาณ 15 นาที
หมายเหตุ เนื้อลูกตาลยีนั้น นำมาจากผลตาลที่สุกจนเหลืองดำ ส่วนมากจะหล่นจากต้นเอง ผลตาลนั้นมีกลิ่นแรง เมื่อปอกเปลือกออกเนื้อข้างในจะเป็นสีเหลือง นำมายีกับน้ำสะอาดให้หมดสีเหลือง นำน้ำที่ยีแล้วใส่ถุงผ้า ผูกไว้ให้น้ำตกเหลือแต่เนื้อ
ขนมถ้วยฟู
ขนมถ้วยฟู
หน้าตาขนมถ้วยฟูจะคล้ายๆกับขนมปุยฝ้ายคือหน้าแตกสามหรือสี่แฉก แต่ความแตกต่างคือส่วนผสมแป้ง ถ้วยฟูเป็นขนมมงคลอีกชนิดหนึ่งคือเชื่อกันว่าทำให้เฟื่องฟู(เขาเล่ามา..เราบอกต่อ)
สูตรส่วนผสม
- แป้งข้าวจ้าว ๑ ถ้วยตวง- น้ำตาลทราย ๑/๒ ถ้วยตวง
- น้ำลอยดอกมะลิ ๑/๒ ถ้วยตวง (หรือน้ำใบเตยถ้าใช้สีเขียวอย่างเดียว)
- น้ำมะนาว ๑ ช้อนชา
- ยีสต์ ๑ ช้อนชา
- ผงฟู ๑ ช้อนชา
วิธีทำ
- ใส่ยีสต์ลงในแป้งข้าวจ้าวให้เข้ากัน ใส่น้ำลอยดอกไม้ทีละน้อย นวดจนแป้งนิ่มเนียน- ใส่น้ำตาลและน้ำทั้งหมดลงในแป้ง นวดต่อไปจนดูเนียนเข้ากัน ปิดฝาครอบไว้ ๔๕ นาที
- ใส่ผงฟู น้ำมะนาว แล้วนวดซ้ำให้ส่วนผสมเข้ากัน
- ตักขนมที่ผสมไว้ ใส่ถ้วยกระดาษแล้วรองด้วยถ้วยอลูมิเนียม นึ่งด้วยไฟแรง ๓ นาที ลดไฟปานกลางนึ่งต่ออีก ๑๐-๑๕ นาที ยกลงพักไว้ให้เย็น
ขนมกลีบลำดวน
ขนมกลีบลำดวน
กลีบลำดวน คือขนมไทยโบราณชนิดหนึ่งที่ทำมาจากแป้งสาลี เป็นขนมมงคลที่ใช้ในงานแต่งงาน เหตุที่เรียกว่ากลีบลำดวนเนื่องจากลักษณะของขนมชนิดนี้คล้ายกับดอกลำดวน
ส่วนผสมขนมหวาน ขนมกลีบลำดวน
แป้งสาลี 2 ถ้วย
น้ำตาลทรายละเอียด 1 ถ้วย
ไข่ไก่ (เฉพาะไข่แดง) 1 ฟอง
น้ำมันพืช 1 ถ้วย
เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
เทียนอบ
แป้งสาลี 2 ถ้วย
น้ำตาลทรายละเอียด 1 ถ้วย
ไข่ไก่ (เฉพาะไข่แดง) 1 ฟอง
น้ำมันพืช 1 ถ้วย
เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
เทียนอบ
วิธีทำขนมหวาน ขนมกลีบลำดวน
1.ร่อนแป้งให้ได้ 3 ครั้ง ครั้งที่ 3 เติมเกลือป่นลงไปร่อนพร้อมกัน
2.นำน้ำตาลทรายละเอียด มาผสมกับแป้งให้เข้ากัน ใส่ไข่แดง ค่อยๆเติมน้ำมันพืชทีละน้อย ผสมกันจนสามารถปั้นเป็นก้อนกลมๆ
ขนาดเท่าๆกันได้ ควรปั้นให้แน่น จะได้ไม่แตกง่ายเวลาผ่า
แล้วพักไว้
3.ใช้มีดปลายแหลม กรีดแบ่งแป้งเป็น 4 ส่วน แล้วนำมาจัดให้กลีบ
งุ้มเหมือนกลีบลำดวน หยิบแป้ง 1 ก้อนเท่ากับเมล็ดข้าวโพด วางไปตรงกลางทำเป็นเกสร
4.นำถาดที่ใช้อบขนม มาทาน้ำมันนำขนมเรียงใส่ถาดอบด้วยไฟ
200-250 องศาฟาเรนไฮต์ เมื่อขนมสุกแล้วอบด้วยควันเทียน
เมื่อขนมเย็นจึงเก็บใส่ขวดโหล
วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
ขนมกล้วย
ขนมกล้วย
ขนมกล้วย หรือเข้าหนมกล้วย เป็นขนมชนิดหนึ่งที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า ส่วนผสมหลักมีกล้วยน้ำว้าสุกงอม แป้งข้าวเจ้า และน้ำตาลทราย นำมาคลุกเคล้าและนวดให้เข้ากัน
![]() | |||
1. | กล้วยน้ำว้าสุก | 500 | กรัม |
2. | น้ำตาลทราย | 500 | กรัม |
3. | แป้งข้าวเจ้า | 300 | กรัม |
4. | แป้งมัน | 100 | กรัม |
5. | มะพร้าว | 1 | ถ้วย |
6. | กะทิ | 3 | ถ้วย |
7. | เกลือป่น | 1 | ช้อนชา |
1. แกะเปลือกกล้วยน้ำว้า ใส่ภาชนะ ใส่แป้งข้าวเจ้า
2. ใส่น้ำกะทิ คนให้เข้ากัน
3. นวดส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันและขยำกล้วยให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ
4. ใส่น้ำตาลทราย แล้วนวดให้เข้ากันจนน้ำตาลละลาย
5. ฉีกใบตองกว้าง 6 นิ้ว ทำเป็นกรวย แล้วใช้ไม้กลัด กลัดใบตอง
6. ตักส่วนผสมใส่ลงในกรวยให้เต็ม
7. วางกรวยขนมในรูของลังถึง
8. โรยมะพร้าวขูด นึ่งไฟกลาง ประมาณ 20 นาที
![]() |
เลือกกล้วยน้ำว้าสุกงอม จะทำให้ขนมกล้วยมีรสหวาน หอม
|
ที่มา : เว็บไซต์และฐานข้อมูลอาหารพื้นบ้านล้านนา โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)